Mainboard

เมนบอร์ด (Mainboard หรือ Mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า “เมนบอร์ด” ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ด คือ

  • ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
  • ชิปเซ็ต (Chip set)
  • ซ็อคเก็ตสำหรับหน่ยวความจำ
  • ระบบบัสและสล็อต
  • Bios
  • สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  • ถ่ายหรือแบตเตอร์รี่
  • ขั่วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  • ขั่วต่อสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง
  • จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  • ขั้วต่อ IDE
  • ขั้วต่อ Floppy Disk Drive
  • พอร์ตอนุกรมและพรอ์ตขนาน
  • พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  • พอร์ต USB

แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด ECS P6VPA2

เมนบอร์ด ที่ติดตั้งบนแผ่นรอง ก่อนประกอบเข้าตัวเครื่อง

เมนบอร์ดที่ติดตั้งในตัวเครื่องได้เลย

การพิจารณาคุณสมบัติของเมนบอร์ด

ประเด็นสำคัญในการเลือกเมนบอร์ดที่ดีในปัจจุบันคือสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • Form Factors หมายถึงลักษณะโครงสร้างของเมนบอร์ด ทั้งรูปร่างและขนาด ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบที่เรียกว่า AT หรือไม่ก็แบบ Baby AT (คือ AT ที่ลดความยาวลงมาในขณะที่ความกว้างเท่าเดิม) ส่วนมาตรฐานใหม่คือ ATX ซึ่งเป็น Baby AT ที่กลับทางจากเดิม คือมีการวางแนวสล็อตและหน่วยความจำใหม่ให้อยู่ใกล้ ๆ กันจะได้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา รวมทั้งการระบายความร้อนก็ดีขึ้น เนื่องจากกำหนดให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟทีมีพัดลมอย ู่ (ตัวเครื่องหรือ Case ก็จะต้องเป็นแบบ ATX ด้วยจะใส่กันได้ลงตัว) รวมทั้งขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม แนวโน้มในอนาคตจึงควรเลือกใช้เมนบอร์ดแบบ ATX โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซีพียู ความเร็วสูง ๆ
  • Bios ควรจะเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถ upgrade ได้เสมอด้วยซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิป
  • มีซอฟต์แวร์ สำหรับดาวน์โหลดมา Upgrade ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ เพื่อแก้ข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่มีรองรับในระบบปฏิบัติการ เช่น ใน Windows 95 ยังไม่มีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ UDMA (Ultra DMA) และ USB (Universal Serial Bus) ซึ่งเมนบอร์ดที่ดีควรจะมีไดรเวอร์เหล่านี้มาให้หรือให้ดาวน์โหลดได้ด้วย
  • มีคู่มือที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งทีสำคัญมากของเมนบอร์ด เพราะถ้าไม่มีก็แทบไม่อาจจะ เปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลือกต่าง ๆ ได้เลย เมื่อต้องการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้ามาหรือ เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบต่างๆ เช่นเพิ่ม RAM หรือเปลี่ยนซีพียู (เพราะจะไม่ สามารถกำหนดการทำงานให้ตรงกับที่ต้องการได้ทั่งนี้รวมถึงการ Overclock ด้วย นอกจากนี้ถ้าคู่มือมีรายการข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยเสียงก็จะยิ่งดี เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีมาตรฐาน และจำเป็นสำหรับเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้นจะได้วิเคราะห์ได้ตรงจุด
  • มีข้อมูลสำหรับการ Upgrade เมนบอร์ด เพื่อให้สามารถใช้กับส่วนประกอบใหม่ ๆ ได้ เช่น เมื่อตอนเริ่มแรกอาจไม่รองรับ Pentium III เพราะยังไม่มีอยู่ แต่ในอนาคตควรจะมีวิธีปรับให้เหมาะสมได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • ซีพียูเลือกว่าจะใช้ซีพียูชนิดใด เนื่องจากซีพียูเป็นตัวกำหนดซ็อคเก็ตที่จะต้องใช้บนเมนบอร์ด จึงต้องเลือกก่อน ปัจจุบัน Pentium II, Pentium III, Celeron, AMD K6-2 และ AMD K7 Athlon เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณที่จ่ายได้ ข้องแนะนำในตอนนี้ก็คือ

  • RAM ควรเลือกเมนบอร์ที่สามารถใช้ 64 บิต 168 pin ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยความจำชนิดที่มีความเร็วสูงสุดและราคาถูกในขณะนี้ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ EDO RAM หรือ DRAM แบบ 72 pin ที่มีอยู่แล้วก็อาจจะเลือกที่มีสล็อตทั้งสองแบบ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกไม่มากนัก จึงควรตัดใจทิ้ง RAM เก่าไปเสียจะดีกว่า ถ้าเป็นไปได้ควรจะเลือก 100 MHz (10 ns) หรือเร็วกว่านี้เนื่องจากแนวโน้มบัส 66 MHz กำลังจะหมดไปในอีกไม่ช้านี้ และ EDO RAM ก็ไม่สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 66 MHz ด้วย
  • AGP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสดงผลความเร็วสูง ควรจะเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบนี้ด้วยเสมอ ส่วนความเร็ว (2x, 4x) ก็แล้วแต่ความต้องการใช้งานและชิปเซ็ตที่ใช้ด้วย
  • PCI เป็นสล็อตที่จำเป็นอย่างยิ่ง มียิ่งมากได้ก็ยิ่งดี เว้นแต่ว่าจะต้องใช้การ์ดที่เป็น ISA ด้วยก็จะต้องเลือกให้มีสล็อต ISA มากพอกับจำนวนการ์ดที่ต้องการใช้
  • ACPI ปัจจุบันเมนบอร์ดทั้งหมดควรจะมีมาตรฐาน ACPI อยู่แล้วซึ่งนอกจากประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่ายอีกด้วย

ผู้ผลิตเมนบอร์ดและเวบไซท์มีดังนี้

Leave a comment